หน่วยที่ 8

หน่วยที่ 8 
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
          1.  เว็บไซต์ (Website)  หมายถึง  ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหา
เว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com  www.yahoo.com  www.sanook.com  เป็นต้น
                    1.1  การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก  จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก  (keyword)  ให้ได้ก่อน
                    1.2  การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น  โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน
          2.  ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต  การค้นหาข้อมูลสะดวก  รวดเร็ว  โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง  หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ  ชื่อผู้แต่ง  เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)  เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  สำนักพิมพ์  ปีที่พิมพ์  เป็นต้น  ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน  เช่น  ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่  เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง  คือ  สุนทรภู่  และระบุหัวข้อเรื่อง  คือ  นิราศ  ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น
           3.  ฐานข้อมูลออนไลน์  ฐานข้อมูล  คือ  แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง  หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง  จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการ
          ออนไลน์ (online)  เป็นคำทับศัพท์  หมายถึง  การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ  อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย  ดังนี้
                    1.  ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ  คือ
                              "และ"                    ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  และ  "เรื่องสั้น"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุล  เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องสั้นเท่านั้น  จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เลย
                              "หรือ"                    ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  หรือ  "ทมยันตี"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ  ว.วินิจฉัยกุล  และทมยันตี  ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
                              "ไม่"                       ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  ไม่  "ประวัติ"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ  ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน  จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ ว.วินิจฉัยกุล  เลย
                    2.  ใช้สัญลักษณ์  หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
                              เครื่องหมายคำถาม ?                    ใช้แทนอักษร 1 ตัว
                              เครื่องหมายดอกจัน*                    ใช้แทนอักษรหลายตัว
                              ตัวอย่าง  ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ  แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ "วิญญา?"
                              ต้องการค้นเรื่อง  ปัญจวัคคีย์  แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์  ปัญจวัคคี*
                    3.  ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database)  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า  NEAR  สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย
คำแนะนำการใช้ Google
1. Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature. Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back... (พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ)
2. การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้ มารวมกันรวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris
3. Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำ พวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature final fantasy +x
4. Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย
5. Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนดรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยว กับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF
6. การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " เช่น "Breath of fire IV"
7. Google สามารถแปลเวปภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็น ภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า "Translate this page" ด้านข้างชื่อเวป)
8. Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ ประเภทไฟล์ที่รองรับคือ
Adobe Portable Document Format (pdf) Microsoft PowerPoint (ppt)
Adobe PostScript (ps) Microsoft Word (doc)
Lotus 1-2-3 (wk1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku) Microsoft Works (wks, wps, wdb)
Lotus WordPro (lwp) Microsoft Write (wri)
MacWrite (mw) Rich Text Format (rtf)
Microsoft Excel (xls) Text (ans, txt)
วิธีใช้ filetype:นามสกุลของไฟล์ เช่น "Chrono Cross" filetype:pdf หมายความว่าเอกสารของ Chrono Cross ที่เป็น PDF และมันยังมีความสามารถดูไฟล์เหล่านั้นในรูปแบบของ HTML ได้ (โดยคลิ้ก View as HTML หรือ รูปแบบ HTML ใน Google ไทย)
9. Google สามารถเก็บ Cached ของเวปที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเวปบางเวปที่อาจโดนลบไปแล้ว โดย ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)
10.Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน (โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกัน ใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลังหาข้อมูลการวิจัย ความสามารถนี้จะ ช่วยให้หาข้อมูลได้มากมายในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword
11.Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเวปนั้นได้ วิธีใช้ link:ชื่อ URL เช่น ink:www.google.com และคุณไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้
12.Google สามารถค้นหาเวปที่จำเพาะเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเวปเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu
13.ถ้าคุณมีเวลาน้อย (และคิดว่าโชคดี) Google มีบริการการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I'm Feeling Lucky) โดยที่ Google จะนำเวปที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหา ส่งให้คุณเลย (link ไปเวปนั้นให้เสร็จ) เช่น คุณต้องการค้นหาเวปมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์ Stanford แล้วกด I'm Feeling Lucky หรือ โชคเข้าข้างเราแน่ ใน Google ไทย
14.Google สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ เช่น 165 University Ave Palo Alto CA Google จะจัดการส่งแผนที่คุณภาพสูงมาให้คุณ
15.Google สามารถหาเบอร์โทร (เฉพาะอเมริกา) หรือพิมพ์เบอร์โทรแล้วหาบริษัทได้โดยพิมพ์
first name (or first initial), last name, city (state is optional) phone number, including area code
first name (or first initial), last name, state last name, city, state
first name (or first initial), last name, area code last name, zip code
first name (or first initial), last name, zip code
16.Google สามารถค้นหา Catalog สินค้าได้ (เข้าไปที่ http://catalogs.google.com)/
17.นอกจากนี้มันยังสามารถคำนวนเลขได้ด้วยนะครับ ลองใส่โจทย์เลขลงไปในช่อง Search ดูสิ เช่น 52869-8956 หรือ 562475+8422 แล้วกด enter ดู จริงๆ มันยังแปลงค่า เช่น จากไมล์เป็นกิโลเมตร หรือจากเซนติเมตรเป็นนิ้วได้ แค่ใส่ลงไป เช่น ใส่ว่า 130 miles to kilometer ก็จะได้ผลออกมาเป็นกิโลเมตร เป็นต้น
18.นอกจากนี้ยังแปลงค่าเงินได้อีกด้วย ใส่ลงไปในช่องค้นหาว่า 50 USD to baht ก็จะได้อัตราแลกเปลี่ยนเงินจากดอลลาร์เป็นบาท หรือจะเป็นค่าอื่น ก็แค่เปลี่ยนสกุลเงิน แล้วตามท้ายว่า To baht ก็จะได้อัตราแลกเปลี่ยนแล้ว


ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
สาระสำคัญ
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารที่เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้วิธีหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะมีข้อดีแล้ว
ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ควรศึกษาก่อน การใช้งาน เพื่อให้สามารถตัดสินใจและใช้งานได้อย่างถูกต้อง                                                                                ความสำคัญและความหมายของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างหนึ่งที่เกิดจากการเชื่อมต่อ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ นิยมเรียกสั้นๆ ว่า อีเมล์ มาจากภาษาอังกฤษคำว่า อิเล็กทรอนิกส์เมล์
(E-mail = Electronic Mail) หรือเรียกว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
มีลักษณะการรับและส่งข้อมูลเหมือนกับการติดต่อสื่อสารประเภทจดหมาย คือ มีการพิมพ์
ข้อความผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้วแปลงเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แทนการเขียนข้อความลงในกระดาษ
แล้วใช้การส่งข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งแทนการส่งจดหมายผ่านทางไปรษณีย์
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในบริษัทหรือสำนักงานโดยใช้โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้าง
ขึ้นเพื่อใช้เฉพาะภาย ในบริษัทหรือสำนักงาน ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือไม่ก็ได้
  ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นบริการอย่างหนึ่งของระบบเครือข่ายซึ่งนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มบุคคลที่ใช้อินเทอร์เน็ต
เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์จะมีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นของตนเองด้วยเหตุนี้ผู้ใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จึงต้องมีที่อยู่ของตนเองและรู้ที่อยู่ของบุคคลที่ต้องการติดต่อสื่อสาร
เมื่อต้องการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้ต้องสมัครหรือลงทะเบียนกับเว็บไซต์ที่ให้บริการ
เพื่อจะได้ที่อยู่สำหรับติดต่อทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า อีเมล์แอดเดรส (E-mail Address) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน คือ ชื่อ แอท  โดเมนเนม และรหัส
ชื่อหรือยูเซอร์เนม (User Name) คือ ชื่อของสมาชิกที่ใช้สมัครหรือลงทะเบียน อาจเป็นชื่อจริง ชื่อเล่น ชื่อบริษัท หรือชื่อสมมุติก็ได้
แอท คือ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ มีลักษณะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเอที่มีวงกลมล้อมรอบ @ ซึ่งมาจาก แอทซาย (at sing)
ในภาษาอังกฤษ
โดเมนเนม (Domain Name) คือ ที่อยู่หรือชื่อของเว็บไซต์ที่ให้บริการทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สมัครเป็นสมาชิกไว้
เพื่ออ้างเมล์เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการ
รหัส คือ ข้อมูลบอกประเภทขององค์กรและประเทศของเว็บไซต์ที่ให้บริการทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น .com หมายถึง
องค์การธุรกิจการค้า หรือ .co.th หมายถึง องค์การธุรกิจการค้าในประเทศไทย เป็นต้น
ข้อดีและข้อจำกัดของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ข้อดีของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย มากกว่าการติดต่อสื่อสารด้วยประเภทอื่นๆ เนื่องจากสามารถรับหรือส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ข้อมูลตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว
ไม่จำกัดเวลา ระยะทาง หรือสถานที่ในการติดต่อสื่อสาร
ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในเวลาและสถานที่ใดก็ได้เพียงแต่ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการส่งหรือรับข้อมูลนั้น
ไม่จำเป็นต้องเปิดหรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาเพื่อรอรับข้อมูล เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับจะถูกเก็บไว้ในเมล์เซิร์ฟเวอร์
เมื่อผู้ใช้ต้องการดูข้อมูลก็เพียงเชื่อมโยงไปยังเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้น
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในการติดต่อสื่อสาร ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดิม
สามารถส่งเมล์ไปหาผู้รับได้หลายคนพร้อมๆ กัน ในกรณีที่ข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นข้อมูลเดียวกัน เช่น ข้อมูลแจ้งกำหนดการประชุม
กฎระเบียบในการใช้ห้องคอมพิวเตอร์ ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลได้ทีละหลายๆ คนในครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลไปทีละคน
เก็บข้อมูลที่ส่งได้ตามความต้องการ โดยอาจเก็บไว้ในเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้นๆ หรือดาวน์โหลดมาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
ข้อมูลที่ได้มีความเป็นส่วนตัว เนื่องจากผู้ใช้จะมีรหัสส่วนตัวในการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ผู้รับสามารถนำข้อมูลที่ได้มาแก้ไขหรือนำข้อมูลนั้นไปใช้ต่อได้ ไม่ต้องพิมพ์ข้อมูลนั้นใหม่
โดยข้อมูลที่ได้รับทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถนำมาจัดทำในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์
มีการแจ้งรายละเอียดและบันทึกข้อมูลได้ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น จำนวนข้อมูลทั้งหมด ข้อมูลใดที่เปิดใช้งานแล้วหรือยังไม่ได้เปิดใช้งาน ใครเป็นผู้ส่ง และส่งข้อมูลมาในเวลาใด
กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์
กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: Bulletin Board System) หรือ บีบีเอส (BBS) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่รันซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้หลาย ๆ คน ใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมเทอร์มินัลติดต่อเข้าไปในระบบ ผ่านทางโมเด็มและสายโทรศัพท์. โดยในระบบจะมีบริการต่าง ๆ ให้ใช้ เช่น ระบบส่งข้อความระหว่างผู้ใช้ (คล้าย จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน แต่รับส่งได้เฉพาะภายในระบบเครือข่ายสมาชิกเท่านั้น) ห้องสนทนา บริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ และกระดานแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เป็นต้น
บีบีเอสส่วนใหญ่เปิดให้บริการฟรี โดยสมาชิกจะสามารถเข้าใช้ระบบได้แต่ละวันในระยะเวลาจำกัด บีบีเอสมักจะดำเนินการในรูปของงานอดิเรกของผู้ดูแลระบบ หรือที่เรียกกันว่า ซิสอ็อป (SysOp จากคำว่า system operator)
บีบีเอสส่วนในเมืองไทยมีขนาดเล็ก มีคู่สายเพียง 1 หรือ 2 คู่สายเท่านั้น บางบีบีเอสยังอาจเปิดปิดเป็นเวลาอีกด้วย บีบีเอสขนาดใหญ่ที่ได้รับความนิยมมากในสมัยก่อนได้แก่ ManNET ซึ่งมีถึง 8 คู่สายและเปิดบริการตลอด 24 ชม. ManNET ดำเนินการโดยแมนกรุ๊ป ผู้จัดทำนิตยสารคอมพิวเตอร์รายใหญ่ในยุคนั้น. นอกจากนี้ยังมีบีบีเอส CDC Net ของ กองควบคุมโรคติดต่อ (กองควบคุมโรค ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นบีบีเอสระบบกราฟิกรุ่นบุกเบิกของประเทศไทย
ในปัจจุบัน บีบีเอสมีบทบาทน้อยลงไปมาก เนื่องจากความแพร่หลายและข้อได้เปรียบหลายประการของ อินเทอร์เน็ต และ เวิลด์ไวด์เว็บ. ในประเทศญี่ปุ่น คำว่า บีบีเอส อาจจะใช้เรียกกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์บนอินเทอร์เน็ตด้วย. แต่สำหรับเมืองไทยแล้ว นิยมเรียกกระดานข่าวเหล่านี้ว่า เว็บบอร์ด มากกว่า
ห้องสมุดแหล่งข้อมูล
ความหมายของห้องสมุด
                 ห้องสมุด คือแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท ทั้งที่เป็นวัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีการคัดเลือกและจัดหาเข้ามาอย่างทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้ใช้ มีบรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินงานและจัดบริการต่างๆอย่างเป็นระบบ
ความสำคัญของห้องสมุด
                 การศึกษาในปัจจุบัน มุ่งให้ผู้เรียนมีโอกาสค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ มาประกอบความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในชั้น ผู้เรียนจะต้องหาความรู้เพิ่มเติมโดยการเข้าใช้ห้องสมุด เพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มขึ้น ความสำคัญของห้องสมุดอาจประมวลได้ ดังนี้
          1. ห้องสมุดเป็นที่รวมของทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถค้นคว้าหาความรู้ทุกสาขาวิชา ที่มีการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษานั้น
          2. ห้องสมุดเป็นที่ที่ทุกคนจะเลือกอ่านหนังสือ และค้นคว้าหาความรู้ต่างๆได้โดยอิสระ ตามความสนใจของแต่ละบุคคล
          3. ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดพอใจที่จะอ่านหนังสือต่างๆโดยไม่รู้จักจบสิ้น เป็นการช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
          4. ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีความรู้ทันสมัยอยู่เสมอ
          5. ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีนิสัยรักการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
          6. ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
          7. ห้องสมุดจะช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดรับรู้ในสมบัติสาธารณะ รู้จักใช้และระวังรักษาอย่างถูกต้องวัตถุประสงค์ของห้องสมุด
   ห้องสมุดทั่วไปมีวัตถุประสงค์ 5 ประการ ดังนี้
1. เพื่อการศึกษา ห้องสมุดทุกแห่งจะรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ความรู้ เพื่อบริการแก่ผู้ใช้ในการแสวงหาความรู้ ค้นคว้าด้วยตนเองได้ตามต้องการ
 2. เพื่อความรู้ข่าวสาร ห้องสมุดจัดหาทรัพยากรสารสนเทศใหม่ๆ ที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ใช้ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้ผู้ใช้มีความรู้ใหม่ๆและทันสมัยเสมอ
3. เพื่อการค้นคว้าวิจัย เป็นแหล่งสะสมทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ที่ใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าวิจัย ซึ่งเป็นการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ เพื่อความเจริญก้าวหน้าในสาขาวิชาต่างๆ
  4. เพื่อความจรรโลงใจ ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภททำให้ผู้ใช้มีความซาบซึ้งประทับใจที่ได้รับจากการอ่าน ช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจในทางสร้างสรรค์แต่สิ่งที่ดีงาม และเป็นประโยชน์ต่อสังคม
   5. เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจหรือนันทนาการ ห้องสมุดจะมีทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ความสนุก บันเทิงใจไว้บริการ เช่น นิตยสาร นวนิยาย เรื่องสั้น ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจด้วยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้ได้รับความเพลิดเพลิน
ประโยชน์ของห้องสมุด
ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายและมีประโยชน์ ดังนี้

          1. ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
          2. กระตุ้นให้รักการอ่านและการศึกษาค้นคว้า
          3. ก่อให้เกิดการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
          4. เป็นสื่อกลางในกระบวนการเรียนการสอน
          5. ตอบสนองความต้องการในการแสวงหาความรู้เฉพาะบุคคล
ประเภทของห้องสมุด
          การแบ่งประเภทของห้องสมุด ตามลักษณะและวัตถุประสงค์ที่ให้บริการ จำแนกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
          1. ห้องสมุดโรงเรียน เป็นห้องสมุดที่ตั้งขึ้นในโรงเรียนทั้งในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนเพื่อสนองความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน นอกจากนี้ยังช่วยสร้างเสริมนิสัยรักการอ่าน และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองให้แก่นักเรียน เพื่อเป็นรากฐานในการใช้ห้องสมุดอื่นๆต่อไป
2. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษา ให้บริการทางวิชาการแก่นิสิต นักศึกษา และอาจารย์ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัย ทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทที่รวบรวมไว้ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย มีความทันสมัยและสอดคล้องกับหลักสูตรการสอน การวิจัยและกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละสถาบัน
3. ห้องสมุดเฉพาะ เป็นห้องสมุดของหน่วยงานราชการ บริษัท สมาคม ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศต่างๆ เป็นแหล่งเก็บรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีเนื้อหาเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง และสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ซึ่งเป็นบุคลากรที่สังกัดหน่วยงานนั้น เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลเพื่อนำไปใช้ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4. ห้องสมุดประชาชน เป็นห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศแก่ประชาชนในท้องถิ่นโดยไม่จำกัดวัย ระดับความรู้ เชื้อชาติและศาสนา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนแต่ละแห่ง เป็นการส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตลอดชีวิตของประชาชนในชุมชน

5. หอสมุดแห่งชาติ เป็นแหล่งรวบรวมและเก็บรักษาสิ่งพิมพ์ ที่พิมพ์ขึ้นภายในประเทศไว้อย่างสมบูรณ์ และอนุรักษ์ให้คงทนถาวร เพื่อให้บริการศึกษาค้นคว้าแก่ประชาชนทั่วไป หอสมุดแห่งชาติจะต้องได้รับสิ่งพิมพ์ทุกเล่ม ที่พิมพ์ขึ้นภายในประเทศตามพระราชบัญญัติการพิมพ์
Digital Library ห้องสมุดบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
            Digital Library (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์)  หมายถึง  การจัดเก็บสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์  แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์  ขณะนี้ได้เริ่มมีการใช้วิธีการเช่นนี้แล้ว  แต่คงต้องรออีกนานทีเดียวกว่าที่ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถแทนที่ห้องสมุดแบบดั้งเดิม หรือ แม้แต่เพียงจะสามารถมีบทบาทเทียบเคียง กับห้องสมุดแบบดั้งเดิม  ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีเหตุผลหลายประการ  ประการแรก  สิ่งพิมพ์ที่มีอยู่แล้วมีเป็นจำนวนมาก  หากจะนำมาดิจิไทซ์  (digitize) หรือแปลงเป็นสารสนเทศแบบดิจิทัล  ก็ต้องลงทุนลงแรงมหาศาลประการที่สอง  ผู้ใช้สารสนเทศส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบัน  ยังคุ้นเคยกับการอ่านหนังสือมากกว่าการอ่านจากจอคอมพิวเตอร์  แต่เรื่องนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้  เมื่อคนรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับการใช้คอมพิวเตอร์มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และพัฒนาการของจอคอมพิวเตอร์ทำให้อ่านได้สบายตามากขึ้น สามารถอ่านได้ครั้งละนานๆ มากขึ้น ประการที่สาม ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ และวิธีการจัดการกับปัญหานี้  ในกรณีที่ต้องการแปลงสิ่งพิมพ์ที่มีอยู่เป็นสารสนเทศแบบดิจิทัลเพื่อนำออกเผยแพร่  ยังไม่มีกฎหมายหรือหลักการที่เป็นสากลว่าด้วยเรื่องนี้   หากยังต้องอาศัยการตกลงกันเองระหว่างคู่กรณีเป็นรายๆ ไป ก็จะเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวง  อย่างไรก็ตามการแปลงสิ่งพิมพ์เป็นสารสนเทศดิจิทัลนั้น  เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ  เพื่อการอนุรักษ์สิ่งพิมพ์เก่าๆไว้เอกสารที่เป็นกระดาษนั้น  หากจัดเก็บถูกวิธีอาจสามารถอยู่ได้นับพันปี  เช่น  เอกสารที่ทำด้วยกระดาษปาปิรัส สมัยอียิปต์หรือบาลิโลเนียยังมีหลงเหลือให้เห็นได้ตามพิพิธภัณฑ์ใหญ่ๆ  ของโลก  แต่ในความเป็นจริงแล้ว  หนังสือหรือเอกสารที่เป็นกระดาษจะมีอายุใช้งานเพียง  100 -  200 ปีเป็นอย่างมาก  ตัวอย่างเช่น  หนังสือเรื่อง  The Pilgrim Kamanita  ซึ่งเป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษที่เสถียรโกศ  และนาคประทีป  นำมาแปลและเรียบเรียงเป็นฉบับภาษาไทย  ชื่อ กามนิต  วาสิฏฐี  นั้น ขณะนี้เหลืออยู่ที่  The British Museum ที่กรุงลอนดอนเพียงเล่มเดียวเท่านั้น  และอยู่ในสภาพถูกเก็บตาย  เพราะกระดาษกรอบหมดแล้ว นำมาเปิดอ่านไม่ได้ เอกสารทำนองนี้ยังมีอีกเป็นจำนวนมาก และต้องหาวิธีอนุรักษ์ไว้ให้ได้เพราะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า  และบางอย่างเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ วิธีอนุรักษ์วิธีหนึ่ง คือ การนำมากราดตรวจ  หรือ  ถ่ายภาพหน้าต่อหน้า แล้วบันทึกใส่ซีดีรอม  (CD-ROM) ไว้  อย่างไรก็ตามซีดีรอมเองก็ไม่ได้มีอายุยืนยาวมากมายนัก  เชื่อกันว่าสามารถจะเก็บได้นาน 3050 ปี เท่านั้น  แต่ถ้ามีการทำสำเนาก่อนที่ซีดีรอมแผ่นนั้นจะหมดอายุ ก็สามารถเก็บไปได้ตลอด  เพราะการทำสำเนาข้อมูลดิจิทัลนั้นจะได้สำเนาที่มีคุณภาพเท่าต้นฉบับดิจิทัล ไม่มีการเสื่อมลงทุกครั้งที่ทำสำเนาเหมือนระบบอนาลอค  ดังนั้น ห้องสมุดดิจิทัลจะสามารถให้บริการเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ   ที่มีอายุมากๆได้
           รูปแบบของเอกสารที่จัดเก็บและให้บริการในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์นั้น  ขณะนี้ยังถือว่าอยู่ในช่วงต้นของการพัฒนา  ซึ่งจะยังมีการเปลี่ยนแปลงไปได้  แม้ว่าจะเริ่มมีการวางมาตรฐานกันบ้างแล้วก็ตาม รูปแบบที่ได้รับการกล่าวขานกันมากที่สุดขณะนี้  คือ  อีบุ๊ค  (E-book)  หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  กับ  อีเจอร์นัล  (E-journal) หรือ วารสารอิเล็กทรอนิกส์  และ  อีแมกกาซีน (E-magazine)  หรือนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์  ความได้เปรียบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้เหนือ  สื่อสิ่งพิมพ์หลายประการ  ประการแรก  ต้นทุนในการจัดทำต่ำกว่า  ประการที่สอง  สามารถใช้สื่อประสม  (Multimedia)  มาประกอบได้  คือ  มีได้ทั้งภาพนิ่ง   ภาพเคลื่อนไหว   (ทั้งที่เป็นรูปวาด  รูปถ่าย  และวีดิทัศน์)  และเสียงด้วย ประการที่สาม  สามารถมี  การเชื่อมโยงข้อความหลายมิติ  (Hypertext)  เพื่ออธิบายขยายความ  หรือ  เพื่อขยายขนาดของภาพประกอบให้ใหญ่ขึ้นหรือชัดเจนขึ้น  ประการที่สี่  สามารถค้นหารายละเอียดคำสำคัญต่างๆโดยใช้วิธีการของ   โปรแกรมค้นหา  ( Search engine)  ซึ่งรวดเร็วทันใจ  และมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบดัชนี  (Index)  ของหนังสือ   ส่วนข้อเสียเปรียบที่สำคัญ  คือ  ต้องใช้คอมพิวเตอร์และใช้ไฟฟ้าในการเปิดอ่าน
          ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ต่างกับห้องธรรมดาตรงที่ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ไม่จำเป็นต้องมีอาคารสถานที่  เพียงแต่มี  คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Sever)  สำหรับเก็บข้อมูล  มีเครือข่าย (Network)  ต่อเชื่อมไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย  (Clients)  ที่ให้บริการ ซึ่งอาจกระจายอยู่ตราที่ต่างๆ  ก็ได้  เครือข่ายนั้นจะเป็นเครือข่ายส่วนตัว  Private  Network  หรือ  Intranet) ที่ใช้ภายในองค์กรก็ได้  หรือจะเป็นเครือข่ายสาธารณะ   เช่น   อินเทอร์เน็ต
  ในต่างประเทศส่วนใหญ่  ห้องสมุดสาธารณะเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป  ทุกท้องที่ระดับอำเภอซึ่งมีประชากรตั้งแต่  10,000  คนขั้นไป  จะมีห้องสมุดสาธารณะขององค์การปกครอง  ท้องถิ่น  แต่ในประเทศไทยห้องสมุดเช่นนี้จะมีตามเมืองใหญ่ๆ  ที่มีเทศบาลเมืองเป็นผู้รับผิดชอบเท่านั้น การใช้ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์แทนห้องสมุดธรรมดา  จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถกระจายบริการห้องสมุดสาธารณะออกไปให้ทั่วถึงทุกอำเภอได้โดยลงทุนไม่มากนัก  เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น